หลังแผ่นดินไหว 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา หลายอาคารในไทย โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ และภาคเหนือ เริ่มมีการตรวจสอบความเสียหาย ทั้งในส่วนที่เห็นชัด และในส่วนที่ “อาจมีแต่ยังไม่แสดงตัว”หนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่ช่างและวิศวกรใช้ในการตรวจสอบความปลอดภัยของอาคารหลังเหตุการณ์แบบนี้ก็คือ “เครื่องทดสอบคอนกรีต” ในบทความนี้เราขอแชร์ในฐานะช่างตรวจสอบอาคาร ว่าเครื่องพวกนี้ช่วยอะไรได้บ้าง ตรวจแบบไหน แล้วมันเกี่ยวข้องยังไงกับความแข็งแรงของอาคารหลังแผ่นดินไหวที่หลายคนกังวล
“น้ำมันยังมีหมด รถยังมีวันล้าง” ท่อนสุดฮิตจากเพลงรักไม่ยอมเปลี่ยนแปลง โดย ติ๊ก ชิโร่ อาจจะคุ้น ๆ หูท่านผู้อ่านกันไม่มากก็น้อย ในทำนองเดียวกัน ก็ต้องมีวันที่เราต้องเอาอุปกรณ์งานสำรวจของเรามาปัดล้างกันบ้าง แต่ทำยังไง? CST จะบอกคุณเอง!
เมื่อใช้งานอุปกรณ์หรือเครื่องมือไปสักระยะนึง ย่อมเกิดความคลาดเคลื่อนของอุปกรณ์วัดค่าที่อยู่ภายในอุปกรณ์ กล้องสำรวจเองก็เช่นกัน จึงต้อมีการสอบเทียบ หรือ Calibrate (คาลิเบรท) เพื่อให้ค่าที่อ่านได้จากการสำรวจมีความถูกต้องแม่นยำดังวันแรกที่มีการใช้งานกล้องสำรวจตัวเก่ง
ลูกน้ำฟองกลมก็มีแล้ว แล้วลูกน้ำฟองยาวคืออะไร? บทความนี้จะแนะนำให้ทุกท่านได้รู้จักอีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญแห่งความสมดุล อย่างลูกน้ำฟองยาวกัน!
Ground-Penetrating Radar (GPR) คือเทคโนโลยีการสำรวจใต้พื้นผิวด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อตรวจจับและแสดงภาพโครงสร้างหรือวัตถุที่ฝังอยู่ใต้ดิน โดยไม่ต้องทำลายพื้นผิว และสามารถสร้างภาพแบบสองมิติ (2D) หรือสามมิติ (3D) เพื่อแสดงข้อมูลชั้นใต้ดินอย่างละเอียด GPR เริ่มมีการพัฒนาขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1970 โดยเริ่มต้นใช้ในงานธรณีวิทยาและการสำรวจใต้ผิวโลก ต่อมาเทคโนโลยีนี้ถูกปรับปรุงให้มีความแม่นยำและครอบคลุมการใช้งานหลากหลาย เช่น การตรวจสอบโครงสร้างถนน สะพาน และโบราณสถาน ปัจจุบัน GPR ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการประเมินสภาพโครงสร้างพื้นฐานในหลากหลายอุตสาหกรรม