ลูกน้ำฟองกลมและแบบแท่ง!
ลูกน้ำฟองกลม (Spirit Level) นั้นเดิมไม่มีใครรู้ว่าใครคือผู้ประดิษฐ์ขึ้น รู้เพียงว่ามันถูกใช้มาอย่างยาวนาน เพื่อบอกว่าพื้นผิวนั้น ๆ กำลังขนานและ/หรือตั้งฉากกับพื้นโลกอยู่หรือไม่ โดยอาศัยคุณสมบัติการไหลของของเหลวและอากาศในภาชนะปิด[1]
หลักการง่าย ๆ ลองหยิบขวดน้ำที่ปิดฝาสนิทที่อยู่ใกล้ตัวของผู้อ่านขึ้นมา ลองจับมันพลิกไปพลิกมาดู แล้วจะพบว่าน้ำจะเคลื่อนที่ไปอยู่ในส่วนที่ต่ำสุด (ก้นภาชนะ) และอากาศจะอยู่ในขนานกับพื้นโลกเสมอ นั่นก็เพราะว่าน้ำมีน้ำหนักกว่าอากาศนั่นเอง (ปล. นี่ไม่ใช่บทความวิทยาศาสตร์แต่อย่างใด)
ฉันใดก็ฉันนั้น เช่นเดียวกับลูกน้ำฟองกลมและระดับน้ำ (Level Rulers) จะช่วยให้ช่างสำรวจสามารถตรวจวัดค่าระดับ และความลาดเอียงของพื้นผิวได้อย่างง่ายดาย (กระซิบบอกตรงนี้เลยว่าปัจจุบันยังไม่มีเครื่องมือทุ่นแรงสำหรับการตั้งค่าระดับ ต้องใช้สองมือของเราล้วน ๆ ในการตั้งระดับลูกน้ำฟองกลมให้อยู่ตรงกลาง!)
หัวจะปวดกับน้ำในงานสำรวจ
น้ำมากแต่พอดีย่อมมีประโยชน์ แต่น้ำที่มากเกินไปก็ก่อให้เกิดทุกข์เช่นกัน โดยเฉพาะฤดูน้ำหลากเช่นนี้ และปฏิเสธไม่ได้ว่างานสำรวจนั้นจะเป็นงานแรก ๆ ที่ได้เข้าพื้นที่ก่อสร้างไปก่อน พื้นดินธรรมดาที่ยังไม่ได้รับการแต่งเติมใด ๆ เมื่อได้รับน้ำฝนตามธรรมชาติ ย่อมเกิดการอุ้มน้ำ และนั่นเองที่ทำให้ดินมีกำลังรับแรงได้น้อยลง สังเกตได้จากการที่เราเหยียบดินแห้ง และดินเปียก ซึ่งจะทิ้งรอยเท้าไว้ได้ลึกและชัดเจนบนดินเปียกกว่าดินแห้งมาก
ทางแก้เบื้องต้น+ขายตรง
แล้วแบบนี้จะตั้งกล้องและอุปกรณ์สำรวจอย่างไรดีล่ะ? ในกรณีที่มีข้อกำจัดในด้านอุปกรณ์ นายช่างสำรวจต้องเลือกพื้นดินที่แข็งที่สุดและไม่ทรุดตัวง่าย อย่างเช่น พื้นหิน หรือพื้นคอนกรีตใกล้พื้นที่ก่อสร้าง หรือถ้าเรามีงบประมาณเพียงพอก็ขอเสนอ “ฐานรอง” ที่จะเสริมความแข็งแรงให้ฐานอุปกรณ์งานสำรวจของเรา ไม่ให้ทรุดลงไปให้เนื้อดิน หรือถ้าจะทรุด #เราจะทรุดไปพร้อมกัน
นอกจากนี้ยังมี “ตัวยึดขาตั้งกล้อง” ที่จะยึดขาทั้ง 3 ไม่ให้กางออกเนื่องจากการจมลงในดินเปียกอีกด้วยนะ! แถมวันไหนฝนตกปรอย ๆ เรายังมี “ร่มสนาม” ไว้กางให้กล้องตัวน้อย ให้ปลอดภัยจากไอฝนอีกด้วย #ครบจบที่CST
และกรณีร้ายแรงที่สุด ขณะช่างสำรวจพบว่าดินที่ที่เหยียบอยู่นั้นมีการทรุดตัวมากกว่าปกติจนผิดสังเกต พร้อมน้ำหลากปริมาณมากเป็นสีน้ำแดง CST ขอให้ทุกท่านตั้งสติ เก็บอุปกรณ์ทั้งหมด และรีบโกยจากพื้นที่ให้เร็วที่สุด เพราะว่าน้ำป่ากำลังมาเยี่ยมคุณแล้ว!
Summary
เพราะข้อจำกัดด้านเวลาและสัญญาก่อสร้าง ทำให้ช่างสำรวจ โฟร์แมน วิศวกรสนาม รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องทุกคน ต้องดำเนินการโครงการนั้น ๆ ให้สำเร็จ ถูกต้องตามแบบและมาตรฐานที่กำหนด ภายในระยะเวลาที่กำจัด แม้ฝนจะตก ฟ้าจะร้อน แดดจะเปรี้ยงแค่ไหน เหล่านายช่างก็ไม่ย่อท้อ ดังนั้น ขอฝากให้ CST เป็นหนึ่งในเพื่อนรู้ใจของผู้อ่านและนายช่างก่อสร้างทุกคนด้วยนะ! #ทำงานทำงานทำงาน