งานสำรวจกับการเอาสายไฟฟ้าลงดิน
15.8.2023

ในโลกยุคดิจิทัลเช่นทุกวันนี้ ไฟฟ้าและการโทรคมนาคมถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการดำรงชีวิตประจำวัน เห็นได้จากสายไฟฟ้าที่ระโยงระยางอยู่ทั่วทุกมุมเมือง ซึ่งกรุงเทพมหานครกำลังดำเนินการนำสายไฟพวกนี้ลงใต้ดินอยู่ บทความนี้จะพาทุกท่านไปพบกับงานสำรวจที่ดูเหมือนว่าจะไม่เกี่ยวอะไรกับงานไฟฟ้า แต่จริง ๆ แล้วมีส่วนช่วยในการนำสายไฟลงดินอย่างมากเลย

Summary *สรุป*

เสาหลักไฟฟ้า : ส่งกระแสไฟฟ้าทั่วไทย

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องแรกของไทยเริ่มใช้งานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ณ บริเวณกระทรวงกลาโหมปัจจุบัน ก่อนจะพัฒนามาเป็นการไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในปัจจุบัน

ต้นกำเนิดไฟฟ้า
ไฟฟ้ามาจากไหน

เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ เราจะใช้การไหลของน้ำตกแทนการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้า น้ำนั้นจะเคลื่อนที่จากที่สูง ไหลลงที่ต่ำ หรือจากแรงดันน้ำสูงไปต่ำ เพื่อให้สามารถส่งน้ำไปได้ไกล ๆ นั่นเอง

เช่นเดียวกับกระแสไฟฟ้า ไฟฟ้าที่ออกมาจากโรงไฟฟ้านั้นจะเป็นไฟฟ้าแรงสูง เพื่อให้ส่งไฟฟ้าไปได้ทั่วทุกพื้นที่ ก่อนจะค่อย ๆ ถูกลดกำลังลงด้วยโรงไฟฟ้าในชุมชน และมุ่งตรงไปสู่หม้อแปลงไฟฟ้าประจำบ้านเพื่อลดกำลังไฟฟ้าให้เหลือ 220 โวลต์ ซึ่งเหมาะสมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนของเรา

และพระเอกในการจ่ายไฟฟ้าก็คือเสาไฟฟ้าที่ประกอบด้วยเสาคอนกรีตตั้งตรงแน่วไปตามแนวถนน และสายไฟชนิดต่าง ๆ ทั้งสายไฟฟ้า (ที่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า) สายไฟฟ้าสื่อสาร (สายสัญญาณโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต)

(ที่มาภาพ : https://www.mea.or.th/content/detail/82/3131/6343 )

ทำไมต้องเอาสายไฟลงดิน?

สาเหตุที่ต้องเอาสายไฟลงดิน

เพื่อทัศนียภาพที่งดงามของเมือง และความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงไม่ได้เจออันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจร หลายพื้นที่จึงเริ่มนำสายไฟฟ้าลงใต้ดิน เช่น กรุงเทพมหานคร พัทยา เชียงใหม่ เป็นต้น แม้ว่าจะมีฉนวนหุ้มรอบสายไฟฟ้าแล้วก็ตาม แต่ด้วยสภาพอากาศที่หลากหลายของประเทศไทย ทำเมื่อเมื่อเวลาผ่านไปฉนวนอาจจะหลุดลอกไปได้ และเมื่อสายทองแดงที่ใช้สำหรับนำกระแสไฟฟ้าโผล่พ้นสัมผัสอากาศโดยปราศจากเกราะป้องกัน เหล่านกหรือกระรอกที่ใช้สายไฟพวกนี้ในการสัญจรก็อาจจะสัมผัสโดยตรงกับกระแสไฟฟ้า นำไปสู่เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดที่อันตรายถึงชีวิตและทรัพย์สินของผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงได้

นอกจากนี้ จากการสำรวจของกรุงเทพมหานคร พบว่าความรุงรังของสายไฟฟ้านั้นราว 50% คือสายตาย หรือสายสื่อสารที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว ดังนั้นเพื่อความสะดวกในการดำเนินการ จึงจะต้องจัดการสายตายทั้งหมดออกเสียก่อนจะนำสายไฟทั้งหมดลงใต้ดิน สำหรับพื้นที่ที่ยังไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้ จะใช้วิธีจัดการสายตายออกไปแล้วจัดเรียงสายสื่อสารที่ยังใช้งานได้อยู่ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยไปก่อน

ปฏิบัติการสายไฟลงดิน ทำไมยาก?

การนำสายไฟฟ้าลงดินนั้นย่อมมีอุปสรรคทางเทคนิค โดยสายไฟฟ้าแรงสูงจะถูกนำไปใต้กึ่งกลางของถนนหลัก[3] ดังตัวอย่างการนำสายไฟฟ้าลงดินใต้ถนนพระราม 3 หลังจากสำรวจความพร้อมในการย้ายสายไฟลงดินแล้ว เจ้าหน้าที่จะเปิดหน้าถนนช่วงกึ่งกลาง และขุดดินให้ลึกลงไปประมาณ 25 เมตร เพื่อวางท่อ HDPE ที่ใช้เป็นฉนวนสำหรับป้องกันไฟฟ้ารั่วไหล โดยวางเรียงไปตามแนวถนน โดยทุกช่วง 300 - 400 เมตร จะมี Duct Bank* สำหรับล็อกสายไฟไม่ให้หลุดกระจายแยกกัน ทั้งยังช่วยให้ง่ายต่อการซ่อมบำรุงในอนาคตด้วย

เมื่อสายไฟฟ้าแรงสูงลงดินโดยอยู่กลางถนนสายหลักแล้ว สายไฟฟ้าแรงต่ำที่ถูกลดกำลังลงจะโดยอยู่ใต้บาทวิถีของถนนสายรองลงมา ก่อนจะเข้าสู่หม้อแปลงของบ้าน

*Duct Bank 1 ชิ้น จะสามารถรองรับท่อ HDPE ได้ 30 เส้น ซึ่งท่อ HDPE 1 เส้นจะมีสายไฟฟ้าอยู่อีก 5 เส้น นั่นก็แปลว่า 1 Duct Bank จะมีสายไฟทั้งหมด 30 x 5 = 150 เส้นนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม การนำสายไฟฟ้าลงดินนั้นก็มีอุปสรรคมากมายขวางอยู่[4] สรุปได้ 3 ข้อใหญ่ ๆ คือ

ระยะเวลาในการดำเนินการ เพราะเป็นถนนสัญจร ทำให้สามารถทำงานได้เพียง 7 ชั่วโมง หรือเวลา 4 ทุ่ม - ตี 5 เท่านั้น เพื่อไม่ให้กระทบการจราจรหลัก นอกจากนี้ยังต้องเผื่อเวลาสำหรับขุดเจาะดิน และปิดหน้างานเพื่อให้ยานพาหนะสัญจรได้ในตอนกลางวันและป้องกัน อุบัติเหตุจากการตกหลุมลึก

ความละเอียดในการเชื่อมต่อท่อ HDPE และสายไฟฟ้าที่ใช้ความปรานีตในการเชื่อมต่อ

งานใต้ดิน เนื่องจากต้องขุดเจาะดิน ทำให้ไม่สามารถคาดเดาสิ่งที่จะเจอในดินได้ ไม่ว่าจะเป็นแนวชั้นดิน น้ำใต้ดิน ตอม่อหรือโครงสร้างใต้ดิน หรือท่อประปาเก่าที่ยังอยู่ใต้ดิน

อุปกรณ์งานสำรวจที่ขาดไม่ได้ในงานนี้!

และเพื่อให้นำสายไฟฟ้าลงดินได้สะดวกมากยิ่งขึ้น จึงมีการใช้ GPS เป็นตัวช่วยสำคัญในการระบุพิกัดการขุดเจาะให้แม่นยำตามเส้นทาง ไม่เบี้ยวซ้ายหรือเอียงขวาให้หลุดออกจากเส้นกึ่งกลางถนน รวมถึงเป็น ล้อวัดระยะทาง เพื่อวัดระยะทางดูว่า Duct Bank แต่ละชิ้นห่างกัน 300-400 เมตรจริงหรือไม่ แน่นอนว่า CST มีทั้งหมดจ้า

Summary

นอกจากประโยชน์ทางตรงอย่างความปลอดภัยและความเรียบร้อยของชุมชนแล้ว การนำสายไฟฟ้าลงใต้ดินนั้นยังส่งเสริมทัศนียภาพของเมืองให้ดียิ่งขึ้น นำไปสู่การลงทุนและผลพลอยได้ทางอ้อมอีกมากมายให้แก่เมืองและประเทศของเรา นอกจากนี้ หากวิศวกรโยธาร่วมมือกับวิศวกรไฟฟ้าในการออกแบบถนนที่สามารถรองรับการติดตั้งสายไฟฟ้าแรงสูงไว้ใต้ดินได้ เราจะสามารถประหยัดงบประมาณชาติได้นับเท่าตัวด้วย มีแต่ได้กับได้!

[1] https://www.pea.co.th/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B2/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2 

[2]  https://www.mea.or.th/content/detail/82/3131/6871 

[3] https://www.youtube.com/watch?v=O3-jtWISYW0 

[4] https://www.youtube.com/watch?v=bNEBJ7iWEzI 

Subscribe to our newsletter

Stay up to date with our newest collections, latest deals and special offers! We announce new collection every three weeks so be sure to stay in touch to catch the hottest pieces for you.

Thank you! Your submission has been received!
Oops! Something went wrong while submitting the form.
Subscribe to our newsletter

Stay up to date with our newest collections, latest deals and special offers! We announce new collection every three weeks so be sure to stay in touch to catch the hottest pieces for you.

Thank you! Your submission has been received!
Oops! Something went wrong while submitting the form.