January 5, 2022
แบบหล่อคอนกรีต มีแบบไหนบ้าง?

เคยเห็นแท่งคอนกรีตทรงกระบอก ตามไซต์งานก่อสร้างหรือไม่? แล้วทราบไหมว่า ทำไมเราต้องแบ่งส่วนคอนกรีตผสมเสร็จออกมาทำให้เป็นรูปทรงกระบอกแบบนั้นด้วย บทความนี้ จะพาทุกท่านไปหาคำตอบกัน

ส่งตัวแทนหมู่บ้าน!

     แท้จริงแล้ว ผู้ควบคุมงานจะแบ่งส่วนคอนกรีตที่ผสมไว้ตาม Mixed Design ออกมาส่วนหนึ่ง เพื่อใช้ในการทดสอบทางกลต่าง ๆ เช่น การรับแรงอัดในเสา การรับโมเมนต์ดัดของคาน เป็นต้น เพื่อทดสอบว่าคอนกรีตที่ออกแบบไว้สามารถรับแรงได้ตามที่ออกแบบไว้หรือไม่

ทรงกระบอก ตอกให้ซ้ำเหมือนย้ำว่ายังไงเธอก็ไม่กลับมา
ทรงกระบอก ตอกให้ซ้ำเหมือนย้ำว่ายังไงเธอก็ไม่กลับมา

ทรงกระบอก ตอกให้ซ้ำเหมือนย้ำว่ายังไงเธอก็ไม่กลับมา

     การทดลองรูปแบบแรก คือการแบ่งส่วนคอนกรีตผสมเสร็จใส่แบบหล่อคอนกรีตรูปทรงกระบอกที่ถูกทาด้วยน้ำมันเครื่อง เพื่อให้คอนกรีตที่แข็งตัวแล้วหลุดจากพิมพ์ได้ง่าย (เหมือนการทำขนมแล้วทาเนยในแม่พิมพ์) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 ซม. และความสูง 30 ซม.   เรียกง่าย ๆ ว่าเสมือนจำลองเสาขนาดเล็กที่พกพาง่าย หิ้วไปไหนมาไหนได้สะดวก โดยหลังจากคอนกรีตแข็งตัว จึงนำไปบ่มในบ่อบ่มที่ใส่น้ำไว้ให้มิดเสาต้นน้อย 7 /28 วันแล้วแต่ที่ระบุไว้ในข้อกำหนด 

     จากนั้นนำเสาต้นน้อยมาแคปหัวด้วยซัลเฟอร์ หรือกำมะถัน ด้วยเครื่องแคปหัวคอนกรีต เพื่อให้หน้าตัดรับแรงราบเป็นระนาบเดียวกัน ก่อนจะเอาไปทดสอบจนเสาน้อยพังจนไม่สามารถใช้งานต่อไปได้นั่นเอง

ทรงลูกบาศก์ ขาดรัก
ทรงลูกบาศก์ ขาดรัก

ทรงลูกบาศก์ ขาดรัก

     นอกจากจะมีแม่พิมพ์แบบทรงกระบอกแล้ว แม่พิมพ์รูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ก็ยังเป็นที่นิยมเช่นกัน โดยแม่พิมพ์จะมีขนาด 15*15*15 ซม. วิธีการหล่อคอนกรีต และทดสอบกำลังก็เหมือนกับคอนกรีตรูปทรงกระบอก เพียงแต่ว่าทรงลูกบาศก์นั้นไม่จำเป็นต้องแคปหัวด้วยกำมะถัน เพราะพื้นที่ผิวสัมผัสมีความเรียบกว่า

แบบหล่อทั้งสองแบบแตกต่างกันอย่างไร
แบบหล่อทั้งสองแบบแตกต่างกันอย่างไร

แบบหล่อทั้งสองแบบแตกต่างกันอย่างไร?

     แบบหล่อรูปทรงกระบอกนั้น มาจากมาตรฐาน ASTM และนิยมใช้ในประเทศเนื่องจากประเทศแคนาดา ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เป็นต้น ในขณะที่ทรงลูกบาศก์นั้นมาจากมาตรฐานอังกฤษ

     ส่วนประเทศไทยของเรานั้นก็ประเทศที่มีการรับวิทยาการมาปรับใช้เก่ง จึงพบเห็นการใช้แบบหล่อทั้งรูปทรงกระบอกและลูกบาศก์ ส่วนข้อแตกต่างคือการรับกำลังของคอนกรีตทรงกระบอกนั้นจะมีค่าประมาณ 80% ของคอนกรีตทรงลูกบาศก์


Summary

     แม้ว่าความสามารถในการรับกำลังของคอนกรีตทั้งสองรูปทรงจะต่างกันอยู่ประมาณ 20% แต่เราก็สามารถเทียบกำลังที่วัดได้จากรูปทรงใดรูปทรงหนึ่งแล้วใช้ตารางแปลงค่ากำลังระหว่างคอนกรีตทั้งสองรูปทรงนี้ได้ 

     ดังนั้น ไม่ว่าผู้อ่านจะมีแบบหล่อคอนกรีตรูปทรงไหนก็ตาม ก็ยังใช้งานต่อได้ หรือหากท่านกำลังมองหาแบบหล่อคอนกรีต CST มีบริการให้ท่านทั้ง 2 รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นทรงกระบอก หรือลูกบาศก์!


Subscribe to our newsletter

Stay up to date with our newest collections, latest deals and special offers! We announce new collection every three weeks so be sure to stay in touch to catch the hottest pieces for you.

Thank you! Your submission has been received!
Oops! Something went wrong while submitting the form.