March 30, 2023
Flakiness index คืออะไร

รู้หรือไม่ว่าลักษณะของหินไม่ว่าจะ กลม แบน เหลี่ยม ล้วนมีผลต่อความแข็งแรงของคอนกรีตที่จะนำไปก่อสร้าง บทความนี้จะพาไปรู้จักกับการทดสอบหาดัชนีความแบนของหินกันค่ะ

ดัชนีความแบนของหินคือ?

ดัชนีความแบนของหิน หรือ Flakiness Index คือ ร้อยละของน้ำหนักหินที่แบนต่อน้ำหนักหินทั้งหมด

โดย ความแบนของหิน จะมีผลต่อ ความทนทานของคอนกรีต หากนำหินหรือมวลรวมที่มีลักษณะแบนจำนวนมากไปผสมคอนกรีต จะทำให้ปูนไม่ยึดเกาะกับตัวมวลรวมเท่าที่ควร จึงต้องปรับสูตรคอนกรีตเพื่อให้ได้ความคงทนตามที่ต้องการ 

ดังนั้นเพื่อลดความยุ่งยากในการปรับสูตรคอนกรีตจึงต้องกำหนดค่าดัชนีความแบนที่เหมาะสมไว้ ของประเทศไทยจะกำหนดค่านี้ไว้ ไม่เกินร้อยละ 40 หรือ 40% สามารถหาค่าได้จากการทดสอบเท่านั้น

ดัชนีความแบนของหิน

การทดสอบ Flakiness Index แบบง่าย ๆ

เริ่มจากอุปกรณ์ที่ใช้ก่อนเลย ต้องมีเครื่องชั่งน้ำหนัก ตู้อบ ตะแกรงสำหรับแยกขนาด และ เครื่องมือทดสอบความแบน (Flakiness Gauge) วิธีทดสอบแบบง่าย ๆ มีดังนี้ค่ะ

นำมวลรวมมาร่อนผ่านตะแกรงตามวิธี Sieve Analysis (อ่านต่อในบทความ ดินขนาดกี่มิล? ถึงสามารถปลูกบ้านได้แข็งแรง) อย่าลืมแยกขนาดหินที่ค้างบนตะแกรงไว้ด้วยนะคะ เพราะต้องนำมาทดสอบแยกกัน

ล้างหินในสะอาดแล้วนำไปอบที่อุณหภูมิ 110 องศาเซลเซียสจนหินแห้ง และทิ้งไว้ให้เย็นก่อนนะคะ

ชั่งน้ำหนักหินที่ค้างบนตะแกรงขนาดต่าง ๆ (M1)  และเทียบกับน้ำหนักของหินทั้งหมดที่นำมาทดสอบ โดยจะบันทึกเป็นเปอร์เซ็นต์ และจะตัดหินที่มีน้ำหนักน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5% ของน้ำหนักรวมทิ้งไปค่ะ แล้วนำที่เหลือมาชั่งเป็นน้ำหนักรวมใหม่ (M2)

วัดขนาดของหินแต่ละขนาดด้วย Flakiness Gauge โดยให้ใช้มือคัดแยกหินที่ไม่ผ่าน Flakiness Gauge ออก และนำส่วนที่ผ่านมาชั่งน้ำหนักอีกรอบ (M3)

คำนวณหาค่าดัชนีความแบน ตามสูตร เดี๋ยวแปะตัวอย่างให้ดูค่ะ ไม่ต้องตกใจไป

การทดสอบ Flakiness Index แบบง่าย ๆ

Flakiness Gauge หน้าตาเป็นแบบไหนนะ?

Flakiness Gauge จะมีลักษณะเป็นแผ่นเหล็กบาง ๆ และมีช่องขนาดต่าง ๆ เพื่อเป็นการคัดแยกหินขนาดต่าง ๆ ตามรูปนี่เลย

ตัวเลขที่อยู่บนแผ่น Gauge จะบอกขนาดของหินที่ผ่านตะแกรงแยกขนาด สามารถหาซื้อได้ที่เว็บไซต์ของเราเลยค่ะ มีขายเครื่องมือทดสอบมากมาย

Subscribe to our newsletter

Stay up to date with our newest collections, latest deals and special offers! We announce new collection every three weeks so be sure to stay in touch to catch the hottest pieces for you.

Thank you! Your submission has been received!
Oops! Something went wrong while submitting the form.