September 14, 2021
เหล็กหล่อ vs เหล็กเหนียว

หากจะบอกว่าส้อมต้องคู่กับช้อน กลางวันกับกลางคืน หรือปลาแห้งกับแตงโม ในงานก่อสร้างนั้นเองก็มีคู่สร้างคู่สมเช่นเดียวกัน นั่นก็คือคอนกรีตและเหล็ก! แต่ไม่ใช่ว่าเหล็กทุกชนิดจะสามารถนำมาใช้เสริมความแข็งแรงให้กับคอนกรีตได้ วันนี้เราจะมาพูดถึงเหล็กหล่อ และเหล็กเหนียว

     หากจะบอกว่าส้อมต้องคู่กับช้อน กลางวันกับกลางคืน หรือปลาแห้งกับแตงโม ในงานก่อสร้างนั้นเองก็มีคู่สร้างคู่สมเช่นเดียวกัน นั่นก็คือคอนกรีตและเหล็ก! แต่ไม่ใช่ว่าเหล็กทุกชนิดจะสามารถนำมาใช้เสริมความแข็งแรงให้กับคอนกรีตได้ วันนี้เราจะมาพูดถึงเหล็กหล่อ และเหล็กเหนียว

เหล็กหล่อแกร่งตัวพ่อ! แต่ถ้าแบบหล่อเหล็กหล่อ ต้อง CM1 CST เท่านั้น!
เหล็กหล่อแกร่งตัวพ่อ! แต่ถ้าแบบหล่อเหล็กหล่อ ต้อง CM1 CST เท่านั้น!

เหล็กหล่อ แกร่งตัวพ่อ!

     เหล็กหล่อ (Iron Cast) มีที่มาจากการขึ้นรูปด้วยการเทเหล็กร้อนเหลวลงในแบบหล่อ (Cast) เมื่อเย็นตัวลงจึงจะได้เหล็กที่มีรูปร่างตามแบบหล่อ โดยเหล็กชนิดนี้ถูกผลิตขึ้นมาทดแทนเหล็กกล้า (Steel) ที่มีราคาสูงกว่า แม้จะมีคุณสมบัติคล้ายเหล็กกล้า แต่เพราะมีการผสมธาตุชนิดอื่น ๆ ทำให้มีราคาถูกกว่า

     โดยธาตุหลักที่ถูกผสมเข้าไปในการผลิตเหล็กหล่อก็คือคาร์บอน (Carbon) โดยส่วนมากจะนิยมใส่คาร์บอนที่ปริมาณ 2 - 6% จึงทำให้เหล็กหล่อมีความแข็ง (Hardness)[1] แต่ก็เปราะง่าย (Brittleness)[2] ปกติแล้วมักถูกนำมาใช้งานกับชิ้นส่วนของรถยนต์ เครื่องมือการเกษตร แท่นฐานเครื่องจักร ท่อส่งของเหลว เป็นต้น

ใครไไม่เหนี่ยว เหล็กเหนียว! แบบหล่อคอนกรีตยอดฮิตทรงกระบอกเลย
ใครไม่เหนี่ยว เหล็กเหนียว! แบบหล่อคอนกรีตยอดฮิตทรงกระบอกเลย

ใครไม่เหนียว เหล็กเหนียว!

     ในที่นี่ไม่ได้หมายถึงเหล็กที่จับแล้วเหนียวเหนอะหนะ หรือบะบ๋ายะหยาแต่อย่างใด[3] แต่หมายถึงเหล็กกล้า (Steel) ที่มีปริมาณคาร์บอนต่ำกว่า 2% ทำให้เหล็กชนิดนี้มีความเหนียวมากกว่าเหล็กหล่อ

 (จะสังเกตได้ว่าคาร์บอนเป็นธาตุผสมสำคัญที่กำหนดความแข็งและเปราะของเหล็ก) เพราะความเหนียวที่มากกว่า หรือจะเรียกว่าเหล็กเหนียวนั้นมาจากการแปรรูปเหล็กหล่อ(ที่มีปริมาณคาร์บอนต่ำ) ด้วยการรีด พับ กระแทก เชื่อม กดรูป หรือวิธีการอื่น ๆ เพื่อที่จะได้เหล็กที่เหมาะสมกับการใช้งานนั่นเอง

จำหน่ายแบบหล่อคอนกรีต ‘เหล็กข้ออ้อย’ กับ ‘เหล็กกลม’ ล่ะ ? เหมือนพวกแบบหล่อคอนกรีตไหม?
แล้ว ‘เหล็กข้ออ้อย’ กับ ‘เหล็กกลม’ ล่ะ ? เหมือนพวกแบบหล่อคอนกรีตไหม?

แล้ว ‘เหล็กข้ออ้อย’ กับ ‘เหล็กกลม’ ล่ะ?

     หนึ่งในชนิดของเหล็กเหนียวที่นิยมใช้ในงานก่อสร้างเสริมความแข็งแรงให้คอนกรีต คือ ‘เหล็กเส้น’ นั่นเอง ทั้งแบบที่เป็นเหล็กกลม (Round Bar) และเหล็กข้ออ้อย (Deformed Bar) 

เนื่องจากความเหนียวของเหล็กที่รับแรงดัดได้ดี จึงเป็นส่วนเสริมให้คอนกรีตสามารถรับแรงดึงและโมเมนต์ดัดได้มากขึ้น เพราะโดยพื้นฐานแล้ววัสดุของคอนกรีตจะรับแรงดึงได้ไม่ดีนัก

(ในความเป็นจริงแล้ว คอนกรีตเสริมเหล็กถูกแบบออกมาเพื่อรับแรงอัดโดยเฉพาะ ส่วนแรงดึงนั้น วิศวกรได้ออกแบบไว้เผื่อในโครงสร้างบางชนิดที่อาจเกิดแรงดึงได้) 

Summary สรุปเนื้อหา

ไม่ว่าจะเป็นเหล็กกล้าหรือเหล็กเหนียว ต่างก็มีคุณสมบัติและจุดประสงค์ในการใช้งานที่ต่างกันออกไป แต่ขึ้นชื่อว่าเหล็กแล้วไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็คือเหล็กอยู่วันยังค่ำ

---------------

[1] ความแข็ง (Hardness) คือ ค่าความคงทนต่อการขูดขีดของแร่ธาตุชนิดต่าง ๆ มี 10 ระดับ โดยระดับ 1 จะมีความแข็งน้อยที่สุด ไล่ไปจนถึงระดับ 10 ที่มีความแข็งมากที่สุด โดยเพชร (Diamond) เป็นแร่ที่มีความแข็งระดับ 10

[2] ความเปราะ (Brittleness) คือ ความสามารถในการแตกหัก หรือขาดออกจากกันแม้จะรับแรงกระทำเพียงเล็กน้อย


Subscribe to our newsletter

Stay up to date with our newest collections, latest deals and special offers! We announce new collection every three weeks so be sure to stay in touch to catch the hottest pieces for you.

Thank you! Your submission has been received!
Oops! Something went wrong while submitting the form.