UTM เครื่องทดสอบครอบจักรวาล
12.10.2023

เพื่อให้มั่นใจได้ว่าวัสดุก่อสร้าง ทั้งเหล็ก และคอนกรีตผสมเสร็จ (Ready Mixed Concrete) ของเรานั้น มีกำลังหรือสามารถรับแรงได้ตามที่ผู้ออกแบบคำนวณไว้ เครื่อง UTM จึงเป็นตัวเอกในการพิสูจน์คุณสมบัติ! สำหรับสายวัสดุ บอกเลยว่าจะพลาดบทความนี้ไม่ได้เลย!

Summary *สรุป*

UTM คืออะไร ?

UTM หรือ Universal Testing Machine เป็นเครื่องทดสอบคุณสมบัติเชิงกล ที่สามารถทดสอบทั้งแรงดึง แรงอัด แรงดัด ของวัสดุ ว่าสามารถรับกำลังได้ตามที่ออกแบบ หรือเป็นวัสดุที่ได้มาตรฐานและใช้ก่อสร้างจริงได้โดยที่สิ่งปลูกสร้างจะไม่พังทลายหรือไม่  โดยจะเป็นการทดสอบวัสดุแบบทำลาย ไม่สามารถใช้งานต่อได้ จึงต้องเผื่อจำนวนวัสดุให้เพียงพอนะ!

เครื่อง UTM คืออะไร

UTM สามารถทดสอบคุณสมบัติของวัสดุได้หลากหลายประเภท เช่น ยาง พลาสติก อุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือกระดาษ เป็นต้น [1] แต่ในบทความนี้จะเน้นไปที่วัสดุก่อสร้างอย่าง เหล็กเส้นและคอนกรีตเป็นหลัก โดยปกติแล้ว คอนกรีตจะมีจุดเด่นในการรับแรงอัด แต่มีจุดด้อยในการรับแรงดึงและโมเมนต์ดัด ผู้ออกแบบจึงได้ใช้เหล็กเส้นมาเสริมจุดอ่อนนี้ของคอนกรีต รวมร่างกันเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforced Concrete) สุดยอด Combination แห่งวงการก่อสร้าง!

ดึงเหล็กให้ขาด!

UTM ใช้ดึงเหล็ก

ด้วยความครอบจักรวาล UTM นั้นสามารถเปลี่ยนหัวเพื่อรองรับการทดสอบคุณสมบัติของเหล็กเส้นได้ด้วยการเปลี่ยนหัวจับวัสดุ (ตำแหน่ง A ทั้งบนล่าง) จากนั้นก็ใส่เหล็กทดสอบของเราเข้าไป เมื่อตรวจสอบจนมั่นใจแล้วว่าเหล็กเส้นถูกยึดอย่างแน่นหนาและจะไม่หลุดออกจากหัวจับ ผู้ทดสอบจึงค่อยย้ายตัวไปที่หน้าจอ Monitor และเริ่มทดสอบแรงดึง (Tension Test) หัวจับ A ด้านบนจะค่อย ๆ เพิ่มแรงเพื่อดึงวัสดุขึ้นด้วยระบบไฮดรอลิก (Hydraulic) ก่อนจะ ปั้ง!! เหล็กเส้นขาดออกจากกันพร้อมเสียงดังสนั่นน่าสะดุ้ง ดังภาพที่ 1

ภาพที่ 1 การทดสอบแรงดึงในเหล็กเส้น (ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=kvns4B8z1t8 )

โดยแรงที่เพิ่มขึ้นและการยืดตัวของเหล็กเส้นอย่างช้า ๆ จะถูกบันทึกเป็นกราฟโดยอัตโนมัติดังภาพที่ 2 (ก่อนจะเริ่มอ่านกราฟกัน ขอเชิญท่านผู้อ่านทบทวนความเค้นและความเครียดของวัสดุที่บทความ “ทำไม strain ถึงเป็น เครียด ส่วน stress เป็นเค้นล่ะ?” กันก่อนได้นะ)

ภาพที่ 2 คุณสมบัตเชิงกลของเหล็ก (ที่มา : http://eng.sut.ac.th/me/2014/laboratory/TensileTest.php)

เมื่อใส่แรงกระทำแก่เหล็กเส้นน้อยกลอยใจไปเรื่อย ๆ จนเกินจุด Yield Strenght (จุดคราก) เหล็กของเราก็จะอยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถกลับไปมีรูปร่างเหมือนเดิมได้แล้ว และเมื่อเพิ่มแรงมากขึ้นไปอีก วัสดุจะเข้าสู่ช่วง Strain Hardening (ความเครียดแข็งตัว) หรือการทำให้มีความแข็งมากขึ้นด้วยความเครียด ซึ่งบางอุตสาหกรรมจะใช้การเพิ่มความแข็งของวัสดุจนถึงช่วง Strain Hardening และนำไปใช้ประโยชน์ได้

และสุดท้ายเมื่อเพิ่มแรงมากขึ้นไปอีก เหล็กเส้นจะยืดตัวกลายเป็นคอคอด (Necking) ดังภาพที่ 3

ภาพที่ 3 วัสดุที่ถูดดึงด้วยแรง P จนเกิดคอคอด (Necking)(ที่มา : http://www.engineeringarchives.com/les_mom_necking.html )

ซึ่งเหล็กที่อยู่ในช่วงนี้จะไม่สามารถใช้ประโยชน์ใด ๆ ได้แล้ว ก่อนที่เหล็กจะขาดออกจากกัน ที่จุด Fracture ในที่สุด

สำหรับการทดสอบเหล็กเส้นนั้น เป็นการตรวจสอบว่าเหล็กเส้นที่ออกมาจากโรงเหล็กนั้น ๆ เป็นเหล็กที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานที่ระบุไว้ของเหล็กเส้นกลมและข้ออ้อย โดยดูได้จากชั้นคุณภาพที่ถูกตีตราไว้บนเหล็กเส้นชนิดนั้น ๆ ดังรูปที่ 4

รูปที่ 4 ชั้นคุณภาพของเหล็กเส้น(ที่มา : http://www.nps-npw.com/Article/Detail/103638 )

โดย SD จะเป็นชั้นคุณภาพของเหล็กข้ออ้อย (Deformed Bar) อันหมายถึง [2]

สมมติว่าเราต้องทดสอบเหล็กข้ออ้อย ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 25 มม. (DB25) มีชั้นคุณภาพ SD40 นั่นแปลว่าเมื่อทดสอบแรงดึงของเหล็กเส้นนี้ด้วย UTM แล้ว Yield Strength ของมันจะอยู่ที่ประมาณ  4,000 kg/cm2 นั่นเอง

กดคอนกรีตให้แตก!

ในการทดสอบแรงอัด (Compression Test) ของคอนกรีตก็แสนง่ายดาย หลังจากหล่อคอนกรีตตัวอย่างด้วยแบบหล่อรูปทรงกระบอกหรือทรงลูกบาศก์แล้ว (อ่านความแตกต่างของแบบหล่อที่บทความ “แบบหล่อคอนกรีต มีแบบไหนบ้าง?”) จากนั้นก็เปลี่ยนหัวจับให้เหมาะสมดังภาพที่ 5 - 6 หลังจากตรวจสอบความปลอดภัยแล้ว ก็ใส่แรงจนคอนกรีตเสียหาย (Collapse) แตก แหลกเป็นเม็ดทราย นับประสาอะไรกับหัวใจ (ไม่ใช่!)

ภาพที่ 5 การทดสอบแรงอัดในคอนกรีตทรงลูกบาศก์(ที่มา : https://civiconcepts.com/blog/compressive-strength-of-concrete )
ภาพที่ 6 การทดสอบแรงอัดในคอนกรีตทรงกระบอก(ที่มา : https://theconstructor.org/practical-guide/material-testing/concrete-testing/causes-low-strength-cylinder-breaks/565748/ )

จากนั้น UTM จะบันทึกแรงอัดที่ทำให้คอนกรีตเสียหาย หรือแรงอัดประลัย (Ultimate Strength ; Fc’) โดยทดสอบอย่างน้อย 3 ตัวอย่าง เพื่อหาค่าเฉลี่ย (Average) และนำไปตรวจสอบว่าตรงกับค่า Fc’ ที่ออกแบบไว้หรือไม่

ใครต้องใช้ UTM ทดสอบวัสดุบ้าง? และจะทดสอบได้ที่ไหน?

นอกจากนักเรียน นิสิต นักศึกษาสาขาที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมโยธา หรือวัสดุแล้วนั้น เหล่าวิศวกรผู้ควบคุมงานก่อสร้างทั้งหลายก็ต้องใช้งานเช่นกัน โดยเพื่อตรวจสอบว่าวัสดุที่ได้รับมาจาก Supplier นั้น เป็นไปตามมาตรฐานที่ออกแบบไว้

โดยสามารถขอรับการทดสอบวัสดุได้ที่ศูนย์ทดสอบของสถาบันหรือมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เช่น 

หรือผู้อ่านที่ต้องใช้งานเหล็กเส้นอยู่เป็นประจำและกำลังสนใจอยากได้เครื่อง UTM ไว้ในครอบครอง CST ก็มีขายด้วยนะเออ! เครื่อง UTM สำหรับทดสอบคุณสมบัติเชิงกล ที่มีขนาดกำลังน่ารักไว้สำหรับทดสอบเหล็กเส้น

Summary

UTM นั้นเป็นเครื่องมือที่ช่วยทดสอบคุณสมบัติเชิงกลของวัสดุชนิดต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจอีกครั้งว่าวัสดุที่ใช้งาน โดยเฉพาะในงานก่อสร้างนั้น จะไม่ทำให้อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างเกิดความเสียหาย

Subscribe to our newsletter

Stay up to date with our newest collections, latest deals and special offers! We announce new collection every three weeks so be sure to stay in touch to catch the hottest pieces for you.

Thank you! Your submission has been received!
Oops! Something went wrong while submitting the form.
Subscribe to our newsletter

Stay up to date with our newest collections, latest deals and special offers! We announce new collection every three weeks so be sure to stay in touch to catch the hottest pieces for you.

Thank you! Your submission has been received!
Oops! Something went wrong while submitting the form.