November 23, 2021
ปูน มอร์ต้า คอนกรีต ต่างกันอย่างไร?

โดยทั่วไป หลายคนอาจจะคิดว่าปูน (Cement) กับคอนกรีต (Concrete) เป็นสิ่งเดียวกัน แต่แท้จริงแล้วทั้ง 2 คำนี้คือคนละอย่างกัน ยังไม่นับตัวละครลับอย่างมอร์ต้าที่เพิ่มเข้ามาด้วยบทความนี้จะพาผู้อ่านทุกท่านไปรู้จักความแตกต่างระหว่างปูนทั้ง 3 ชนิดนี้กัน!

กว่าจะมาเป็นปูน
กว่าจะมาเป็นปูน

กว่าจะมาเป็น “ปูน”

     ปูนหรือที่บางคนเรียกว่า ซีเมนต์ (Cement) นั้น คือผงที่ได้จากการ บดหินปูนตามธรรมชาติ และผสมกับวัตถุดิบที่มีคุณสมบัติในการช่วยยึดเกาะตามอัตราส่วนที่คำนวณไว้ ซึ่งปูนที่รู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลายคือ ปูนพอร์ตแลนด์ (Portland Cement) โดยชื่อ “พอร์ตแลนด์” นั้นมาจากการสกัดหินพอร์ตแลนด์ (Portland Stone) จากเกาะพอร์ตแลนด์ (Isle of Portland) ดอร์เซต (Dorset) ประเทศอังกฤษนั่นเอง

     ในประเทศไทยนั้น มอก. ได้แบ่งประเภทปูนเป็น 5 ประเภท ตามชนิดโครงสร้าง ตั้งแต่โครงสร้างทั่วไป (ประเภทที่ 1) จนถึงโครงสร้างที่อยู่ในบริเวณที่มีการกัดกร่อนสูง (ประเภทที่ 5) เช่น ในทะเล เป็นต้น

มอร์ต้า VS คอนกรีต
มอร์ต้า VS คอนกรีต

มอร์ต้า VS คอนกรีต

     ปูนเมื่ออยู่ในสภาพและอุณภูมิปกติจะมีลักษณะเป็นผง แต่เมื่อผสมกับน้ำเปล่า จะกลายเป็นของเหลวหนืดที่เรียกว่า “ซีเมนต์เพสต์” (Cement Paste) ซึ่งเจ้าซีเมนต์เพสต์ตัวนี้จะยังไม่สามารถถูกนำไปใช้งานได้ จนกว่าจะผสม “มวลรวมละเอียด” หรือ “ทราย” และกลายเป็น “มอร์ต้า” (Mortar) ที่จะถูกใช้ในการฉาบผนังก่ออิฐนั่นเอง

     จากนั้น เมื่อผสมมอร์ต้ากับ “มวลรวมหยาบ” หรือ “หิน” ก็จะได้ “คอนกรีต” นั่นเอง โดยคอนกรีตจะถูกใช้ในงานโครงสร้างหลักต่าง ๆ ที่ต้องรับกำลัง เช่น ฐานราก เสา ต่อมอ คาน ฯลฯ เป็นต้น ดังแสดงในภาพ

คุณสมบัติที่แตกต่างกัน นำไปสู่ภารกิจที่ต่างกัน
คุณสมบัติที่แตกต่างกัน นำไปสู่ภารกิจที่ต่างกัน

คุณสมบัติที่แตกต่าง นำไปสู่ภารกิจที่ต่างกัน

     ซีเมนซ์เพสต์ ช่วยในการยึดติดหรือช่วยเกาะมวลรวมในคอนกรีต ในขณะที่หินนั้นจะช่วยกระจายแรงที่โครงสร้างรับไว้โดยให้กระจายภายในโครงสร้าง (และเหล็กเสริม) อย่างทั่วถึง ทำให้คอนกรีตสามารถรับแรงอัดได้มากขึ้น

     หากทดสอบด้วย เครื่องทดสอบแรงอัดคอนกรีต จะพบว่าคอนกรีต (ที่มีหินและทราย) จะสามารถรับแรงอัด (Compression) ได้มากกว่าซีเมนซ์เพลสต์หรือมอร์ต้า และ Last Boss ที่ใคร ๆ ก็คาดไม่ถึงก็คือ “น้ำ” นั่นเอง น้ำนั้นมีผลโดยตรงกับกำลังรับแรงอัด (มีหน่วยเป็นกิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร หรือ Kilogram per square metre , ksc นั่นเอง)

สั่งเลยที่ CST
สั่งเลยที่ CST

     ในการวัดแรงอัดของคอนกรีต นอกจากจะคำนวณสูตรการออกแบบส่วนผสมคอนกรีต จะมีค่า Water Cement Ratio (W/C Ratio) โดยเป็นการคำนวณก่อนผสมคอนกรีตแล้ว ยังทดสอบค่าการยุบตัว (Slump Test) หลังผสมคอนกรีตเสร็จทันทีได้อีกด้วย 

Summary

     เรียกได้ว่า ปูน มวลรวม และน้ำ นั้นเป็น 3 เสาหลักของการผสมคอนกรีตอย่างสมบูรณ์แบบ ขึ้นอยู่กับว่าต้องการนำคอนกรีตไปใช้งานชนิดใด (คหสต. ควรสรุปความต่างระหว่างปูน มอร์ต้า และซีเมนต์อีกรอบนึงตรงนี้นะ เพราะในท่อเกริ่นเราบอกว่าเราจะดูความต่างระหว่างสามอย่างนี้กัน) โดยปูนนั้นคือส่วนผสมตั้งต้น หากนำไปผสมกับน้ำและทราย จะได้มอร์ต้า และหากนำมอร์ต้าไปผสมกับหิน จะได้คอนกรีตนั่นเอง

     สุดท้ายนี้ ขอฝากสำนวน “ทหารถือปืนแบกปูนไปโบกตึก” ในสำนวนนี้จะตีความได้ว่า ปูนในที่นี่ก็คือ มอร์ต้า ไม่ใช่ปูนธรรมดาอย่างที่เคยเข้าใจกัน


Subscribe to our newsletter

Stay up to date with our newest collections, latest deals and special offers! We announce new collection every three weeks so be sure to stay in touch to catch the hottest pieces for you.

Thank you! Your submission has been received!
Oops! Something went wrong while submitting the form.