เปิดศักราชใหม่ด้วยจิตแจ่มใส ร่าเริงพร้อมส่องกล้องท้าแดดไปกับ CST! บทความนี้ จะพาทุกท่านย้อนสำรวจในกระเป๋าหรือรถขนของกันอีกครั้ง กับลิสต์ 11 อุปกรณ์คู่ใจช่างสำรวจ ท่านมีอุปกรณ์เหล่านี้พร้อมสำหรับงานสำรวจแล้วหรือยัง?
สำหรับโปรเจกต์ขนาดเล็ก-กลาง กล้องวัดระดับและกล้องวัดมุมมักเป็นตัวเลือกแรกสำหรับงานสำรวจเสมอ และหากมีเพียงกล้องสำรวจอย่างเดียว งานของท่านจะไม่มีวันเสร็จแน่นอน เหมือนตักน้ำใส่ตุ่มที่มีรูรั่ว! ดังนั้นเพื่อปิดรูรั่วนี้ CST ขอเสนอให้ท่านลองเช็คของกันอีกครั้ง!
1. ขาตั้งกล้อง : เรียกได้ว่าถ้าขาดขาตั้งกล้องไป กล้องสำรวจของเราจะกลายเป็นก้อนไร้ประโยชน์ทันที หยิบขาตั้งกล้องไปด้วย เพราะ #ไปด้วยกันมองได้ไกล นั่นเอง
2. ไม้สต๊าฟ : ไม้วัดที่สลักความยาวระบบเมตริกที่แม่นยำ เพื่อบอกระดับความสูง ณ จุดนั้น ๆ เช่น การถ่ายระดับจากหมุดอ้างอิง หรือการทำวงรอบปิด เป็นต้น
3. ปริซึม : ใช้เป้าปริซึมสำหรับรับแสงเลเซอร์ ณ จุดที่สนใจได้ในการวัดระยะหรือวัดมุม
4. ไม้โพล : เพียงใช้ไม้โพลวิเศษ ช่างสำรวจผู้อยู่หลังเลนส์กล้องก็จะสามารถหาเป้าที่ยากต่อการมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ ไม่ว่าจะอยู่จุดไหน แม้ว่าจะเป็นจุดที่ไม่น่าจะมีหมุดสำรวจ โพลก็จะพาสายตาท่านไปหาหมุดนั่นได้
5. ลูกดิ่ง : สายน้ำไม่ไหลย้อนกลับฉันใด ลูกดิ่งก็จะตั้งฉากกับพื้นโลกเสมอฉันนั้น ในกรณีที่มีข้อจำกัดด้านพื้นที่ ใช้ลูกดิ่งช่วยวัดฉากสิ! อย่างกรณีที่ต้องเก็บค่าสำรวจบนพื้นที่ดินเหนียว ซึ่งยากต่อการหาจุดตั้งฉากเพราะเมื่อยืนบนดินเหนียวแล้ว น้ำหนักของเราจะกดดินเหนียวให้ค่อย ๆ จมลงไปในดิน หรือพื้นที่ที่ไม่สามารถยืนได้ เช่น สระน้ำ ลูกดิ่งจะช่วยช่างสำรวจในการวัดระดับ ยิ่งถ้าใช้ควบคู่กับไม้สต๊าฟ เราก็จะสามารถอ่านค่าระดับได้อย่างง่ายดายขึ้น (อ่านเพิ่มเติม “ลูกดิ่ง เอ็น ไม่เบี้ยว”)
6. เข็มทิศ : สำหรับช่างสำรวจผู้บุกเบิกพื้นที่ใหม่ที่ยังปราศจากสัญญาณโทรศัพท์และไม่มี GPS ให้ใช้ เข็มทิศสุดคลาสสิกจะช่วยให้ท่านระบุทิศทางได้อย่างแม่นยำ! (อ่านเพิ่มเติมที่ “กว่าจะเป็นเข็มทิศ”)
7. เทปวัดระยะ : ไม่ว่าจะอยู่วงการไหน การรีเช็คข้อมูลสำคัญเสมอ แม้ว่าจะวัดระยะทางอย่างง่ายด้วยกล้องระดับไปแล้ว เราจะต้องรีเช็คด้วยการดึงเทปวัดระยะเสมอ หรือจะใช้ล้อวัดระยะก็ได้นะเออ
8. ค้อนและตะปู : ไม่น่าเชื่อ CST มีขายทุกอย่างเกี่ยวกับงานสำรวจจริง ๆ ! นั่นรวมถึงตะปูตัวเล็กสำหรับสร้างหมุดชั่วคราว เราก็มี! นอกจากนี้จะใช้ธงสำรวจช่วยบอกตำแหน่งหมุดตะปูด้วยก็ได้นะ
9. ร่มสนาม : เอามากันร่มให้ช่างสำรวจ ❌ เอามากันร่มให้กล้อง ✔️ เพื่อป้องกันการรับรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ ร่วมกับความร้อนภายในจากการใช้งานของกล้อง ร่มสนามจะช่วยให้กล้องไม่ร้อนจนเกินไป เพราะหากกล้องสำรวจร้อนเกินไป อาจจะมีค่า Error ในการสำรวจ หรือเกิดความเสียหายได้ (อ่านเพิ่มเติม “ร่มสนามใครว่าไม่สำคัญ”)
เมื่อนำกล้องสำรวจที่ชาร์จแบตเรียบร้อยแล้วใส่รถยนต์ มาลองตรวจสอบกันดูดีกว่าว่า Checklist ของ CST กับของผู้อ่านนั้น เหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้าง? หากขาดเหลืออุปกรณ์ใด ๆ CST คนดีคนเดิมก็พร้อมบริการทุกท่านเสมอ แต่ในวันเวลาทำการนะเออ!
Stay up to date with our newest collections, latest deals and special offers! We announce new collection every three weeks so be sure to stay in touch to catch the hottest pieces for you.
Stay up to date with our newest collections, latest deals and special offers! We announce new collection every three weeks so be sure to stay in touch to catch the hottest pieces for you.