March 16, 2022
Flat Slab - พื้นไร้คาน มาลงจากคานกัน!

จากบทความ “ว่าด้วยเรื่องของคาน” ที่ได้มีการพูดถึง “พื้นไร้คาน” หรือที่เรียกด้วยทับศัพท์อย่างคุ้นปากว่า “Flat Slab” นั้น วันนี้เราจะมาเจาะลึกกับเจ้าพื้นชนิดนี้กัน! #ลงจากคาน

คาน Get Out!
คาน Get Out!

คาน Get Out!

     การนำคานออกจากโครงสร้างพื้นนั้น ทำให้วิศวกรต้องหาวิธีทำให้น้ำหนักจากพื้นสามารถถ่ายลงเสาได้อย่างปลอดภัยและแข็งแรง และป้องกันการวิบัติเนื่องจาก แรงเฉือนทะลุ (Punching Shear) ตัวร้าย อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ สมมติว่าเราใช้มือทั้งสองข้างจับกระดาษ A4 ทั้ง 4 มุมด้วยปลายนิ้ว (ใช้ 2 คนช่วยนะ) แล้วให้เพื่อนอีกคนต่อยลงไปตรงกลางกระดาษ นั่นแหละ คือ Punching Shear

กระดาษจะเปรียบเสมือนโครงสร้างพื้น และกำปั้นคือเสานั่นเอง หากมีแรงต่อยที่มากเกินกว่าที่พื้นกระดาษจะรับได้ อาจนำไปสู่ความเสียหายที่ไม่สามารถประเมินค่าได้

     ด้วยเหตุนี้เอง จึงต้องมีการเสริมเหล็กบริเวณรอยต่อระหว่างหัวเสาและพื้น เพื่อให้เกิดความแข็งแรงทนทาน  จึงเกิดเป็น พื้นไร้คานคอนกรีตเสริมเหล็ก สามารถแบ่งประเภทได้ 3 ประเภท ได้แก่ 

1. พื้นไร้คานแบบมีหัวเสาและแป้นหัวเสา (Flat Slab with Column Head with Drop Panel) 

2. พื้นไร้คานแบบมีหัวเสา (Flat Slab with Column Head without Drop Panel) 

3. พื้นไร้คานธรรมดา ๆ (Flat Slab without Column Head)

     ซึ่งพื้นไร้คานแต่ละชนิด ย่อมมีความเหมาะสมและคุ้มค่าสำหรับแต่ละโครงการแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความต้องการและการตกลงระหว่างเจ้าของโครงการและวิศวกรผู้ออกแบบนั่นเอง

Pre & Post-Tension
Pre -Tension

Pre & Post-Tension

     พื้นไร้คานแบบคอนกรีตเสริมเหล็กนั้น ยังมีข้อกำจัดคือระยะระหว่างเสา (Span) ยังไม่ยาวมากนัก ทำให้พื้นคอนกรีตอัดแรง กำเนิดขึ้นมาเพื่อกำจัดจุดอ่อนนี้! 

     พื้นชนิดแรกคือพื้นคอนกรีตแบบอัดแรงก่อน (Pre-tensioned หรือ Prestressed Concrete) โดยจะมีการใส่แรงหรือดึงเหล็กเสริมในพื้นหรือโครงสร้างชนิดอื่น ๆ ก่อนที่จะเทคอนกรีตเข้าไปในแบบหล่อ หลังจากคอนกรีตแข็งตัว จึงปล่อยแรงที่ยึดเหล็กไว้ตอนแรก ทำให้คอนกรีตเสริมเหล็กสามารถรับแรงได้มากขึ้น ซึ่งมักจะพบในโครงสร้างสำเร็จรูป หรือโครงสร้างที่หล่อจากโรงงาน แล้วนำมาประกอบที่ไซต์ก่อสร้าง เช่น เสาเข็มสำเร็จรูป คานสำเร็จรูป หรือโครงสร้างสะพานบางชนิด เป็นต้น

Post-tensioned
Post-tensioned

     และอีกชนิดคือพื้นคอนกรีตแบบอัดแรงภายหลัง (Post-tensioned) จะก่อสร้างโดยการวางเหล็กเสริมปกติ แต่จะใส่ลวดอัดแรง (Tendon) โดยหลังจากที่คอนกรีตพื้นแข็งตัว ลวดอัดแรงจะถูกดึงจนกว่าโครงสร้างคอนกรีตจะรับกำลังได้ตามกำหนด พื้นชนิดนี้มักเลือกใช้ในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ ไม่สามารถหล่อคอนกรีตในโรงงานได้ ต้องมาก่อสร้างในไซต์งานจริง เช่น พื้นสำหรับอาคารพักอาศัย โครงสร้างสะพานแบบใหม่ กระทั่งโครงสร้างรางรถไฟฟ้าที่กำลังก่อสร้างในกรุงเทพฯ ด้วย

Summary

     พื้นที่มีหลากหลายประเภทนั้น รวมถึง “พื้นไร้คาน” ล้วนถูกสร้างหรือพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ตรงกับความต้องการของเจ้าของโครงการเสมอ แน่นอนว่าความปลอดภัยและความคุ้มค่าในการก่อสร้างก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญสำหรับการก่อสร้างด้วยนะ!

Subscribe to our newsletter

Stay up to date with our newest collections, latest deals and special offers! We announce new collection every three weeks so be sure to stay in touch to catch the hottest pieces for you.

Thank you! Your submission has been received!
Oops! Something went wrong while submitting the form.