October 12, 2021
ที่วัดไข้ ใช้วัดอุณหภูมิยางมะตอยแทนได้!?

เทอร์โมมิเตอร์นั้นมีอยู่มากมายหลายชนิด ก็เพราะแต่ละชนิดต่างถูกผลิตมาเพื่อใช้งานอย่างเหมาะสมสำหรับวัสดุที่มีคุณสมบัติต่างกัน เราจึงควรใช้เทอร์โมมิเตอร์ให้ถูกชนิดด้วยนะ! แต่ถ้างั้นมันใช้แทนกันได้หรือเปล่าเนี่ย? มารู้คำตอบได้ที่บทความนี้เลย! ใช้ผิดไม่รู้ด้วยนะ!!

ถนนราดยางมะตอย vs ถนนราดคอนกรีต Aspalt testing road and concrete road cst thailand
ถนนราดยางมะตอย vs ถนนราดคอนกรีต

ถนนราดยางมะตอย!

     เมื่ออยู่ที่อุณหภูมิปกติ ยางมะตอยจะมีสถานะเป็นของแข็ง ซึ่งในการเตรียมยางมะตอยนั้น จะต้องเก็บในถังควบคุมอุณหภูมิ <100°C และเมื่อต้องการนำยางมะตอยมาใช้งาน จะต้องเพิ่มอุณภูมิจนได้ประมาณ 160°C เพื่อหลอมให้กลายเป็นของเหลวที่พร้อมนำไปใช้งาน [1] 

     ถนนที่ราดด้วยยางมะตอยนั้น จะทำให้ผู้ขับขี่ยานยนต์รู้สึกสบายมากกว่าการขับบนถนนคอนกรีตธรรมดา นอกจากนี้ยังช่วยให้ล้อรถยนต์ยึดติดกับผิวถนนมากกว่าถนนคอนกรีต ซึ่งช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ [2]

เทอร์โมมิเตอร์แบบไหนถึงจะวัดอุณหภูมิยางมะตอยได้? Thermometer Aspalt cst thailand
เทอร์โมมิเตอร์แบบไหนถึงจะวัดอุณหภูมิยางมะตอยได้?

เทอร์โมมิเตอร์แบบไหนถึงจะวัดอุณหภูมิยางมะตอยได้?

เริ่มแรกเลย เทอร์โมมิเตอร์แบบบ้าน ๆ ใช้ได้ไหม?

     โดยปกติแล้วเทอร์โมมิเตอร์ (Thermometer) ที่ใช้กันในครัวเรือนนั้น จะเป็นเทอร์โมมิเตอร์สำหรับวัดอุณหภูมิของร่างกาย (ไม่นับเทอร์โมมิเตอร์สำหรับการทำอาหารนะ) โดยปรอทวัดไข้แบบแท่งแก้วนั้น จะมีช่วงอุณหภูมิที่สามารถวัดได้อยู่ที่ 35 - 42 °C [3] แม้ว่าแก้วจะมีจุดหลอมเหลวอยู่ที่ 2,000 °C แต่เพราะช่วงอุณหภูมิที่จำกัด ทำให้ไม่สามารถวัดอุณหภูมิของยางมะตอยเหลวได้

     ส่วนเทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิตัลสามารถวัดอุณหภูมิได้ที่ช่วงระหว่าง 32 - 43 °C โดยมีเทอร์มิสเตอร์ (Thermistor) อยู่ในหัว Sensor ที่ทำมาจากเหล็กหรือสแตนเลส[4] แต่เพราะเทอร์โมมิเตอร์ชนิดนี้วัดได้เพียงช่วงอุณหภูมิของร่างกาย ทำให้เทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิตัลไม่ถูกใช้ในสำหรับยางมะตอย

เทอร์โมมิเตอร์แบบยิงก็ไม่ได้ ใช้เฉพาะทางกับCSTดีกว่า Thermometer CST Thailand for Aspalt testing
เทอร์โมมิเตอร์แบบยิงก็ไม่ได้ ใช้เฉพาะทางกับCSTดีกว่า



ความหวังสุดท้าย! เทอร์โมมิเตอร์แบบยิง

     เทอร์โมมิเตอร์แบบยิงหรืออินฟราเรด (Infrared Thermometer) ที่พบได้ทั่วไปในบริเวณทางเข้าของห้างสรรพสินค้าหรือสถานที่สาธารณะต่าง ๆ นั้น สามารถใช้งานได้ 2 โหมด ได้แก่ การวัดอุณหภูมิร่างกาย (Body Mode) ในช่วง 32.0 ºC - 42.5 ºC และการวัดอุณหภูมิพื้นผิว (Surface Mode) ในช่วง 0 ºC - 60 ºC 

     ถึงแม้ว่าจะใช้ Surface Mode ก็ยังไม่เพียงพอแต่การวัดอุณหภูมิของยางมะตอยอยู่ดี....

ใช้ของเฉพาะทางสิ CST จัดให้ได้!

       แม้ว่าเทอร์โมมิเตอร์วัดไข้จะทำหน้าที่แทนกันไม่ได้ เราขอเสนอให้ใช้เทอร์โมมิเตอร์ที่ถูกออกแบบมาสำหรับการใช้งานกับวัสดุที่มีอุณหภูมิติดลบจนถึงสูงมากๆ เทอร์โมมิเตอร์ของ CST สามารถวัดอุณหภูมิในช่วง -50 – 300°C ได้! จึงเหมาะสมอย่างยิ่งกับการใช้งานกับงานพื้นผิว ยางมะตอย

Summary สรุปเนื้อหา

เทอร์โมมิเตอร์นั้นมีอยู่มากมายหลายชนิด ก็เพราะแต่ละชนิดต่างถูกผลิตมาเพื่อใช้งานอย่างเหมาะสมสำหรับวัสดุที่มีคุณสมบัติต่างกัน ดังนั้นแล้ว เราจึงควรใช้เทอร์โมมิเตอร์ให้ถูกชนิดด้วยนะ!



Subscribe to our newsletter

Stay up to date with our newest collections, latest deals and special offers! We announce new collection every three weeks so be sure to stay in touch to catch the hottest pieces for you.

Thank you! Your submission has been received!
Oops! Something went wrong while submitting the form.