กลับมาอีกครั้งกับ #มาตรฐาน101กับCST โดยในบทความนี้ เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับมาตรฐานประจำวงการอุตสาหกรรม กับมาตรฐาน มอก. โดย สมอ.
สมอ. (สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม) อยู่ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม ที่มีหน้าที่กำกับดูแลมาตรฐานการผลิตในอุตสาหกรรมภายในประเทศไทย และสินค้านำเข้า เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เพื่อให้คนไทยได้ใช้สินค้าที่มีมาตรฐาน และปลอดภัย โดยมาตรฐานชื่อดังที่ สมอ. เป็นผู้กำหนดและเป็นที่รู้จักกันอย่างขว้างก็คือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ มอก. ถ้าจะให้เปรียบเทียบง่าย ๆ ก็เหมือน สมอ. เป็นยานแม่ที่คอยดูแลยานลูกอย่าง มอก. ซึ่งดูแลสินค้าอุตสาหกรรมอีกที ให้ไม่ให้นอกลู่นอกทาง และอยู่ในกรอบความปลอดภัยนั่นเอง
ในยุคดิจิทัลอย่างปัจจุบันนี้ ทำให้สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้ามีบทบาทมากขึ้นในชีวิตประจำวันของเรา ลองสังเกตดูที่ปลั๊กพ่วงใกล้ตัวท่านผู้อ่านดูสิ ว่ามีเครื่องหมายแบบนี้หรือไม่?
ถ้าบนปลั๊กพ่วงหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าของท่านไม่มีเครื่องหมาย มอก. ท่านควรพิจารณาโละทิ้งเป็นขยะอันตราย และซื้อใหม่เสียดีกว่า เพราะสินค้าเหล่านั้นเป็นสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน! และอาจนำไปสู่อุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด (ตัวอย่างข่าวที่เกิดจากปลั๊กพ่วงที่ไม่ได้มาตรฐาน) ถ้าไม่อยากเป็นข่าว เลือกใช้สินค้าไฟฟ้าที่มี มอก. กันดีกว่า
แล้วเครื่องหมาย มอก. ทั้งสองแบบนี้ต่างกันอย่างไรล่ะ? คำตอบก็ง่ายมาก ถ้าเป็นเครื่องหมายมาตรฐานทั่วไปจะเป็นเครื่องหมายสำหรับผลิตภัณฑ์ทั่ว ๆ ไป ที่ไม่ได้มีอันตรายต่อชีวิต ผู้ผลิตสามารถขอการรับรอง มอก. เพื่อบอกผู้บริโภคว่าสินค้าของตนนั้นมีมาตรฐาน เช่น ลูกฟุตบอล สบู่ก้อน แปรงสีฟัน เป็นต้น
กลับกัน หากเป็นสินค้าที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่ผลิตภายในประเทศไทย นำเข้าจากต่างประเทศ หรือส่งออกให้ต่างประเทศ จะต้องมีเครื่องหมายมาตรฐานบังคับ เช่น ปลั๊กพ่วง เครื่องไฟฟ้า ท่อพีวีซี เป็นต้น (ตรวจสอบรายชื่อมาตรฐาน มอก. ได้ที่นี่)
ส่วนพวกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อย่าง โทรศัพท์มือถือ แท็ปเล็ต และอุปกรณ์เสริมทั้งหลายไม่ต้องกังวล เพราะบริษัทแม่นั้นได้รับ มอก. แล้ว (ตรวจสอบรายชื่อบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับ มอก. ที่นี่ ลองค้นหาชื่อบริษัทของแบรนด์โทรศัพท์ของตัวเองกันดูสิ)
เพื่อให้ชีวิตประจำวันของคนไทย ดำเนินไปอย่างปลอดภัย สมอ. จึงได้ใช้ มอก. ในการกำกับดูแลสินค้ารอบตัวเรา สินค้าไหนมี มอก. สินค้านั้นปลอดภัยแน่! แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ผู้ใช้เองก็ต้องใช้สินค้านั้น ๆ อย่างถูกต้องและเหมาะสมด้วยนะเออ
สุดท้าย ไม่ขายของ ไม่ใช่ CST เครื่องหมายมาตรฐานบังคับนั้น ยังเป็นมาตรฐานควบคุมวัสดุก่อสร้างด้วย ไม่ว่าจะเป็นปูนซีเมนต์ เหล็กรูปพรรณ หรือเหล็กเส้นด้วยนะ และไหน ๆ เรารู้จักมตรฐานมอก.กันแล้ว ไปเจาะลึกกันต่อเรื่องมาตรฐานมอก.และเหล็กเส้นเพิ่มเติมที่บทความ “เหล็กมอก. Vs เหล็กJIS ใครเจ๋งกว่าใคร?”)
Stay up to date with our newest collections, latest deals and special offers! We announce new collection every three weeks so be sure to stay in touch to catch the hottest pieces for you.
Stay up to date with our newest collections, latest deals and special offers! We announce new collection every three weeks so be sure to stay in touch to catch the hottest pieces for you.